คอลัมน์สานฝันคนสร้างเพลง
โพสต์17 ม.ค. 2553, 22:19โดยทองไท ทองเนียม [ อัปเดต 7 ก.พ. 2553, 20:28 ]
เผยดีใจสุดๆ เป็นสิ่งที่สูงสุดในอาชีพ ตอนครั้งแรก ที่มีคนโทรมาบอกว่า อาจารย์ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ก็รู้สึกขนลุกเลย แล้วมีเพื่อนหลายๆ คนบอกว่า นายน่าจะได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ มาตั้งนานแล้ว อ.ประยงค์ ชื่นเย็น ด้านดนตรีไทยลูกทุ่ง –ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ศิลปินแห่งชาติปี 2552 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ. นี้ เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย. แต่ส่วนตัวผมเองนั้น ผมไม่ได้คิดทางนั้นเลย ผมคิดแต่เพียงแค่รอเวลาเท่านั้น และในช่วงที่รอเวลานั้น ก็ได้เก็บผลงานที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สะสมข้อมูลรวมถึงผลงานต่างๆ เก็บไว้เพื่อจะได้เป็นข้อมูลยืนยันว่า เราทำงานมาโดยตลอด แล้วส่งไปที่สำนักงานศิลปินแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ เป็นเวลา 7 ปีแล้ว พึ่งจะได้รับโอกาสในปี 2552 นี้เอง ให้ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ” อ.ประยงค์ ชื่นเย็น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “อาจารย์ จะเข้ารับรางวัลศิลปินแห่งชาติกับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ในวันที่ 24 ก.พ.53 และพร้อมอุทิศตัว เพื่อเรียบเรียงเสียงประสาน พร้อมทั้งทำงานในด้านนี้ให้มากขึ้น อ.ประยงค์ ยังฝากบอกว่า ผลงานเพลงเรียบเรียงเสียงประสาน ที่มีส่วนทำให้ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่น เพลงส้มตำ เพลงล่องเรือหารัก เพลงอีสาวทรานซิสเตอร์ เพลงเทพธิดาผ้าซิ่น และ เพลงไอ้หนุ่มตังเก เป็นต้น” ประวัติการทำงานของ อ.ประยงค์ ชื่นเย็น วงดนตรีที่เคยผ่านงาน วงดนตรี “รวมดาวกระจาย” (ครูสำเนียง ม่วงทอง) วงดนตรี “สุรพัฒน์” (ชลธี ธารทอง-ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง) วงดนตรี “ผ่องศรี วรนุช” (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง) วงดนตรี “เพลิน พรมแดน” ประสบการณ์ด้านการทำงาน - ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาดนตรี ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ - โปรดิวเซอร์ ให้ ก๊อท จักรพันธุ, จอมขวัญ, กัลยา, แคท รัตติกาล และ 5 สาวฝุ่นตลบ ฯลฯ - กรรมการตัดสินการประกวดการร้องเพลง โครงการต่างๆ - คณะอนุกรรมการดำเนินการจัดงาน “กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย” - คณะอนุกรรมการการคัดเลือกลูกทุ่งดีเด่นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย - คณะทำงานจัดทำหนังสือ “60 ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย” - คณะกรรมการสมัชชาศิลปิน รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ - รางวัลพระพิฆเนศทอง พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-กุมารี แขนงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยมในเพลง “เทพธิดาผ้าซิ่น” (พ.ศ.2543) - รางวัลพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง-นราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในงานคอนเสิร์ตการกุศล “เพลินเพลงพระราชนิพนธ์ เฉลิมพระเกียรติ” (พ.ศ.2544) - รางวัลมาลัยทอง แขนงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยมในเพลง “ฝากใจไปอุบล” (พ.ศ.2543) - รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน พ.ศ.2520 (เพลงหนุ่มนารอนาง) - รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน พ.ศ.2523, พ.ศ.2525 (เพลงอีสาวทรานซิสเตอร์, เพลงข้อยเว้าแม่นบ่) - รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน พ.ศ.2543 (เพลงเทพธิดาพยาบาล) -รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน พ.ศ.2520 - ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทยลูกทุ่ง –ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน พ.ศ.2552 ผลงานที่ผ่านมา - เรียบเรียงเสียงประสาน: บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส้มตำ, แดร็กคูล่าผู้น่ารัก, พลบค่ำ, เพ็ญจันทร์ ฯลฯ - สร้างสรรค์ผลงานเพลง มากกว่า 3,000 เพลง (เรียบเรียงเสียงประสาน) - อาตี๋สักมังกร, ตาแป๊ะฝัน, ศึกฤทธิ์คิดลึก (เพลิน พรมแดน) - หนุ่มนารอนาง, ให้พี่บวชเสียก่อน (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) - ผู้ชายในฝัน, ห่างหน่อยถอยนิด, หัวใจถวายวัด (พุ่มพวง ดวงจันทร์) - จดหมายจากแนวหน้า, ทหารเรือมาแล้ว, กำนันกำใน (ยอกรัก สลักใจ) - นางฟ้ามีเบอร์, แฟนฉันไม่ต้องหล่อ (สุนารี ราชสีมา) - อยากกินเนื้อคนใจดำ, หัวใจเดิม, อกหักซ้ำสอง (สายัณห์ สัญญา) - เทพธิดาผ้าซิ่น, คนกล่อมโลก, หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (เสรี รุ่งสว่าง) - รักจริงให้ติงนัง (รุ่ง สุริยา)- เพลงไทยสากล : สุเทพ วงศ์กำแหง, ธานินท์ อินทรเทพ, ดาวใจไพจิตร งานปัจจุบัน - นักแต่งเพลง และนักเรียบเรียงเสียงประสานอิสระ ประเภทเพลงลูกทุ่ง และเพลงไทยสากล - กรรมการบริหารสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ - กรรมการบริหารสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย - กรรมการบริหารสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทยอ.ประยงค์ ชื่นเย็น ปัจจุบันอายุ 63 ปี ชาวพระตะบอง ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ ประสบการณ์ด้านดนตรีมากว่า 40 ปี ไต่เต้านักดนตรีเป่าทรัมเป็ทกับวงดนตรีรวมดาวกระจาย 2510 ต่อมามาอยู่กับวงดนตรีผ่องศรี วรนุช และเพลิน พรหมแดน ผลงานเรียบเรียงเสียงประสานมากมาย เช่น หัวใจถวายวัด ล่องเรือหารัก ทหารเรือมาแล้ว และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้แก่ เพลงส้มตำ และเพื่อให้ดนตรีลูกทุ่งได้เผยแพร่สู่สากลจนเป็นที่ยอมรับของนักฟังเพลงทั่วโลกอย่างเช่น เทพธิดาผ้าซิ่น อีสาวทรานซิสเตอร์ ถือได้ว่า อ.ประยงค์ ชื่นเย็น เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานมือทองตัวจริง ได้รับรางวัลเกียรติยศมามากมาย ตั้งแต่ แผ่นเสียงทองคำเสาอากาศทองคำ พระพิฆเนศทองพระราชทาน มาลัยทอง รวมแล้วร่วม 100 รางวัล โดยเฉพาะรางวัลพระราชทาน มีไว้ในครอบครองกว่า 20 รางวัล | <>
>>> สวช.ประกาศรายชื่อ 9 ศิลปินแห่งชาติ ปี 2552
เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศผลการคัดเลือกศิลปินที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติใน 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ.2552 มีรายชื่อดังต่อไปนี้
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มัณฑนา โมรากุล ประยงค์ ชื่นเย็น วรนันท์ ชัชวาลทิพากร นายธีระ กล่าวว่า ยืนยันว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะดูแลศิลปินแห่งชาติเป็นอย่างดี ซึ่งมีค่าตอบแทนให้เดือนละ 20,000 บาท อีกทั้งยังได้สิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบราชการ |
>>> อ.เฉลียว สุขโชค
ได้รับรางวัลด้วยเช่นกันในวันกตัญญูครูเพลง สำหรับนักแต่งฝือมือดีท่านนี้ มีทั้งลูกศิษย์และผลงานเพลงที่แต่งโด่งดังมากมาย เคยได้ทักทายมาสองครั้ง ผมบอกได้เลยว่า อ.เฉลียว คนๆนี้เป็นกันเองดีครับ ครั้งหนึ่งเจอกันที่ห้องอัดแห่งหนึ่ง ผมเข้าไปทักทายตามประสาผู้น้อย(ใฝ่หาความรู้กับครูเพลงดังๆ ) หลังจากพูดคุยกันก่อนแยกย้ายกันกลับ อ.เฉลียว ยังบอกคุณใจที่ผมทักทายท่าน เฉลียว สุขโชค ครูเพลงลูกทุ่งจากภาคอีสาน ปัจจุบันมาตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการประพันธ์คำร้องเพลงลูกทุ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ประพันธ์คำร้องเพลงลูกทุ่งให้นักร้องลูกทุ่งจนประสบผลสำเร็จในอาชีพหลายคนอาทิ ดวงตา คงทอง ,มนสิทธิ์ คำสร้อย ข้อมูลเพิ่มเติม สวนงูเด็กไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อ.เฉลียว สุขโชค เจ้าของสวนงูกล่าวว่า สวนงูเด็กไทยเปิดมาได้ประมาณ 27 ปี โดยก่อนที่จะเปิดสวนงู ตนได้ไปแสดงโชว์งูอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้นำความรู้ที่ได้เรียนสั่งสมมา กลับมาเปิดสวนงูที่ประเทศไทย โดยตนจะรับซื้องูต่างๆ จากชาวบ้านที่นำมาขาย โดยเฉพาะถ้าเป็นงูประเภทที่หายากก็จะได้ราคาสูง เพราะสามารถนำไปให้คนดู เป็นความรู้จากสื่อการเรียนการสอน และสามารถนำไปโชว์ได้ สวนงูเด็กไทยได้จัดการแสดงโชว์ทั้งหมดรวม 5 ชุด มีการแสดงจับงูเห่า การแสดงโชว์งูเหลือม การคาบงูปล้องทอง การแสดงงูสปริง และการต่อสู้ของงูเห่ากับพังพอน ภายในบริเวณยังมีงูประเภทต่างๆ ไว้ให้ชมอีกมากมาย มีทั้งแบบไว้ให้ดู และให้สัมผัสกับมันได้ โดยเฉพาะเจ้างูเหลือมเผือกสีเหลืองทอง และเจ้างูเหลือมคู่นี้ ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ เพราะไม่มีอันตราย และมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด นอกจากงูแล้ว ในสวนงูเด็กไทยยังมี ตัวเงินตัวทอง จระเข้น้ำขนาดใหญ่ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ชม และทึ่งกับขนาดความใหญ่โตของมัน และเมื่อชมการแสดงเสร็จแล้ว ก็ยังมีศูนย์จำหน่ายสินค้าเครื่องหนังต่างๆ มีทั้งหนังงู หนังปลากระเบน หนังจระเข้ หนังวัว ฯลฯ เสื้อผ้า และของที่ระลึกต่างๆ ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจอยากจะมาเที่ยวด้วย พักผ่อนด้วย ก็จะมีบ้านสุขโชครีสอร์ท ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ อยู่ติดกับสวนงู ไว้เตรียมรับรองโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสวนงูเด็กไทยจะเปิดทำการโชว์ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.30 – 12.30 น. อัตราการเข้าชมเด็กนักเรียนที่มาทัศนศึกษาคนละ 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวไทย 50 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 บาท ส่วนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เข้ารับชมฟรี ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 032 – 254982 หรือติดต่อได้ที่คุณวันดี เบอร์ 081-8203947 , 081- 4339547 **** หากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกับข้อมูลนี้ ช่วยแจ้งมาให้ทราบบ้างก็ดีนะครับ อ.เฉลียว สุขโชค **** |
>>> แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์
รับรางวัล ศิลปินที่มีความกตัญญู ต่อครูเพลง ที่ดูแลครูสัมฤทธิ์เปรียบเสมือนพ่อคนที่ 2 ทั้งแต่งเพลงให้ และสอนทุกอย่างเกี่ยวกับการร้องเพลง การปฏิบัติตัว ถึงแม้ว่าครูสัมฤทธิ์ จะตาบอด ถือว่าเป็นศิลปินตัวอย่างที่ดีมาเลยครับ และเหมาะสมอย่างยิ่งกับรางวัลที่ได้รับในวันกตัญญูครูเพลง ***************************** ประวัติ แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ เป็นนักร้องลูกทุ่งชายที่มีน้ำเสียงไพเราะเพราะพริ้ง แม้หน้าตาอาจจะไม่ค่อยหล่อเหลาสักเท่าใดนัก เส้นทางการขึ้นมาเป็นนักร้องของเขาออกจากแตกต่างจากนักร้องลูกทุ่งรุ่นเดียวกันหรือรุ่นก่อนหน้านั้นอยู่มาก เพราะเขามีผลงานเพลงโด่งดังขึ้นมาโดยที่ไม่เคยเป็นนักร้องอยู่กับวงลูกทุ่งใดๆเลย แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ โด่งดังมาจากผลงานเพลงแรกที่เขาบันทึกเสียงคือ " แห่ขันหมาก " และหลังจากนั้นก็ผลิตผลงานเพลงที่ไพเราะกินใจออกมามากมายหลายเพลง แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ มีชื่อจริงว่า เฉลียว ไกอ่ำ เกิดเมื่อ 27 ก.ค.2496 ที่บ้านเลขที่ 156 หมู่ 13 ต.คำบัว อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา จากฐานะที่ยากจน และพ่อแม่แยกทางกัน ทำให้เขาจบการศึกษาแค่ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านจาน ต.คำบัว อ.โนนไทย แสงสุรีย์ เป็นคนที่ชอบการร้องเพลงลูกทุ่งอย่างมาก และก็ได้เข้าสู่เวทีการประกวดในเขตจังหวัดบ้านเกิดมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้น ป.2 และประกวดเรื่อยมา ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้างเป็นธรรมดา หลังจบการศึกษา เมื่อประมาณอายุ 15 ปี แสงสุรีย์ หิ้วกระเป๋าเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ และน้าสาวได้ฝากฝังให้เขาได้เข้าทำงานที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ แถวสุขุมวิท ในตำแหน่งล้างจาน 3 ปีหลังจากนั้นก็ขยับขึ้นมาทำในตำแหน่งพ่อครัวอาหารฝรั่ง และเขาทำหน้าที่นี้อยู่นานถึง 10 ปี ระหว่างนั้นเขาก็ตระเวณประกวดร้องเพลงตามเวทีเล็กๆในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้าง มาวันหนึ่ง แสงสุรีย์ ได้เข้าประกวดการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ขยะสังคม" ที่มีสรพงษ์ ชาตรี แสดงนำ และมีสายัณห์ สัญญา เป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งคราวนี้ แสงสุรีย์ ได้รับชัยชนะ และเพื่อนที่มาร่วมประกวดด้วยกัน ได้พาเขาไปพบ ครูสัมฤทธิ์ รุ่งโรจน์ครูเพลงตาพิการ เพื่อให้ปั้นแสงสุรีย์ เป็นนักร้อง เมื่อพบกัน ครูสัมฤทธิ์ บอกว่าถ้าอยากจะเป็นนักร้อง ก็จะขายเพลงให้เพลงละ 600 บาท ซึ่งแสงสุรีย์ก็ตกลงซื้อทันที 2 เพลง จากนั้นครูสัมฤทธิ์ก็กลับไปแต่งเพลงมาให้เขา 2 เพลง ก่อนจะพาลูกศิษย์คนใหม่ไปเข้าห้องอัดเสียง โดยไปขอแทรกคิวเวลาห้องอัด 2 ชั่วโมง เพื่อผลิตผลงานที่จะพลิกชีวิตของกุ๊กที่รักการร้องเพลงลูกทุ่ง 2 เพลงที่ว่านั้นก็คือ " แห่ขันหมาก " และ "น่าอร่อย " ใจความตอนหนึ่งของเพลง" แห่ขันหมาก " มีอยู่ว่า " แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ ไม่มีรถขี่ " ก็เท่ากับว่า ครูสัมฤทธิ์ ตั้งชื่อให้กับลูกศิษย์คนใหม่ไปพร้อมกับเพลงๆนี้เลยทีเดียว หลัง 2 เพลงของแสงสุรีย์ ถูกนำออกเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ ก็ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของเหล่าบรรดาแฟนเพลง จึงมีนายทุนเสนอทำวงดนตรี " แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ " ให้เพื่อทำการเดินสาย ครูสัมฤทธิ์จึงแต่งเพลงให้แสงสุรีย์อีก 4 เพลง สำหรับใช้ในการแสดงที่หน้าเวที และแสงสุรีย์ ก็ออกเดินสายในฐานะหัวหน้าวงโดยที่เขามีเพลงอยู่แค่ 6 เพลงเท่านั้น ซึ่งเพลงที่ตามมาที่หลังอีก 4 เพลงต่างก็ได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนเพลงอย่างมากเช่นกัน จากนั้นจึงค่อยๆทะยอยผลิตผลงานเพลงตามมาสมทบอีกมาก แต่โดยหลักแล้วเพลงของแสงสุรีย์ยังคงเป็นเพลงของครูสัมฤทธิ์ ในการแสดงครั้งหนึ่ง วงแสงสุรีย์สามารถเก็บค่าผ่านประตูได้เป็นหลักล้านบาท แม้จะเก็บแค่คนละ 20 บาท ขณะที่ผู้ชมก็มารอกันตั้งแต่บ่าย 3 โมง ขณะที่วงดนตรีเปิดการแสดงในช่วงเย็น วงแสงสุรีย์ ออกเดินสายระหว่างปี 2521 - 2524 ก่อนจะปิดวงไป เมื่อความนิยมเริ่มลดน้อยถอยลง ผลงานสร้างชื่อเสียง ปัจจุบัน แม้ความนิยมจะตกต่ำไปตามกาลเวลา แต่แสงสุรีย์ ที่อยู่ในวงการมานานหลายสิบปี ก็ยังคงตระเวณร้องเพลงตามที่ได้รับการว่าจ้างด้วยน้ำเสียงที่ยังคงไพเราะเหมือนเช่นสมัยเข้าวงการใหม่ๆ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น